Main Menu

วัดนางนอง

watnangnong

วัดนางนอง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ 76 เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร

อาณาเขต

  • ทิศเหนือติดต่อกับคูเก่าของวัด
  • ทิศใต้ติดต่อกับคลองบางค้อ
  • ทิศตะวันออกติดต่อกับทางรถไฟ
  • ทิศตะวันตกติดต่อกับคลองด่าน

ประวัติ

  วัดนางนอง เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งในเขตบางขุนเทียน จะเห็นได้จากที่ตั้งวัด วัสดุการก่อสร้างวัด ปูชนียวัตถุ ล้วนแต่มีการก่อสร้างอย่างประณีตบรรจงเช่น พระอุโบสถ พระวิหาร พระปรางค์ พระเจดีย์ ตลอดจนพระประธานทรงเครื่องในพระอุโบสถ วัดนางนองนี้ เดิมอยู่ริมคลองด่าน การสัญจรไปมาใช้เส้นทางคลองด่านเป็นหลัก หน้าวัดจึงได้หันสู่คลอง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกมิได้หันไปทางทิศตะวันออก แต่ต่อมาเมื่อมีการตัดถนน การสัญจรทางน้ำลดความสำคัญลง สภาพของก็เปลี่ยนไป ทางเข้าวัดได้เปลี่ยนมาเป็นทางด้านถนนวุฒากาศ

  การก่อสร้างวัดนี้ ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มสร้างในสมัยใด สันนิษฐานจากรูปแบบของศิลปะที่พบในวัด ควรจะสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และได้บูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2375 ได้โปรดเกล้าฯ ให้รื้อของเก่าแล้วปฏิสังขรณ์ใหม่ทั่วทั้งพระอาราม ดังจะเห็นได้จากพระอุโบสถ พระวิหาร พระเจดีย์ ศาลาหน้าวัดล้วนเป็นทรงเก๋งจีน พร้อมทั้งศิลปกรรมที่ปั้นลม หน้าบัน ประตู หน้าต่าง พระประธานในพระอุโบสถพร้อมทั้งลายฝาผนังลายรดน้ำ รูปทรงศิลปะไทยจีนประยุกต์ รัชกาลที่ 3 ทรงบูรณะวัดนางนองนี้ เพราะวัดนี้ตั้งอยู่ในบริเวณที่ชื่อว่า บางนางนองซึ่งเป็นนิวาสสถานเดิมของสมเด็จพระศรีสุลาลัย หรือเจ้าจอมมรดาเรียม พระราชชนนีของท่าน ก่อนที่ตระกูลของสมเด็จพระศรีสุลาลัยจะข้ายข้ามคลองไปตั้งถิ่นฐานบริวณวัดหนัง ใช้เวลาปฏิสังขรณ์หลายปีจึงแล้วเสร็จได้สถาปนาเป็นพระอารามหลวงพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคไปประกอบพิธีผูกพัทธสีมาพระอุโบสถในวันที่ 19 พ.ย. 2385 วัดนางนองนี้เป็นวัดที่มีขนาดใหญ่วัดหนึ่งหันไปทางทิศตะวันตกตามทางสัญจร คือคลอด่านสิ่งปลูกสร้างแบ่งเป็นเขตพุทธาวาส และสังฆาวาส เขตพุทธวาสมีถาวรวัตถุ พระอุโบสถ พระวิหาร เจดีย์ทรงปรางค์ เจดีย์ทรงเครื่องโดยมีแผนผังตามแนวแกนหลักคือ พระอุโบสถเป็นประธานของวัด อยู่ด้านหลังสุด หน้าพระอุโบสถมีเจดีย์ทรงเครื่องขนาดใหญ่ ด้านซ้ายและขวาของเจดีย์มีวิการคู่ ส่วนของวิหาร ทั้งสองหลังยังมีเจดีย์ทรงปรางค์ตั้งอยู่ด้านหลังและมีกำแพงแก้วร้อมรอบ ลักษณะของผังแบบนี้ ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของงานสร้างวัดในสมัยรัชกาลที่ 3 

พระพุทธมหาจักรพรรดิ
พระปรานในพระอุโบสถ คือ พระพุทธรูปสำริดปิดทอง เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องปางมารวิชัยพระนาม “พระพุทธมหาจักรพรรดิ” พระพักตร์พุทธศิลป์อย่างสมัยสุโขทัย หน้าตักกว้าง 2 เมตร 25 เซนติเมตร เครื่องทรงที่ประดับทุกชิ้นแยกออกจากองค์พระ สวมทับลงไว้ ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีปั้นลายปิดทองประดับกระจก เป็นงานประติกมากรรมชิ้นเยี่ยมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีความงามวิจิตรอลังการปลูกความเลื่อมใสศัทธาแก่ผู้เข้ามาสักการะ มีประวัติสำคัญคือได้มีการนำมงกุฎของพระพุทธรูปที่วัดนางนองไปประดิษฐานยังยอดของตรีศูลพระปรางค์วัดอรุณราชวรารามภายหลังจึงมีการสร้างถวายคืนให้ในรัชกาลของพระองค์


ภาพจิตรกรรมในพระอุโบสถ
งานจิตรกรรมภายในพระอุโบสถมีหลายเรื่องอันประกอบด้วยที่ผนังพระอุโบสถส่วนบนเหนือกรอบหน้าต่างทุกด้าน เขียนเรื่อง ชมพูบดีศูตร เป็นงานเขียนสีลงบนฝาผนัง ระหว่างหน้าต่างเป็นงานเขียนบนรักอย่างจีนที่เรียกว่าลายกำมะลอ เรื่องสามก๊ก ระหว่างบานประตูเป็นภาพสำคัญคือ ฮก ลก ซิ่ว พร้อมทั้งเครื่องมงคล ตามรัชกาลที่ 3 ที่สมบูรณ์อีกแห่งหนึ่ง ในกรอบกระจำเป็นนิยายจีน จิตรกรรมประดับบานประตู หน้าต่าง และบานแผละ เป็นลายรดน้ำที่บานประตูเขียนเรื่องรามเกียรติ์ บานหน้าต่างเขียนภาพเทพในศาสนาฮินดูที่นำมาใช้เป็นงานประดับและทวารบาลอย่างไทย บานแผละเขียนเป็นภาพมงคลที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ได้แก่ เครื่องราชกุธภัณฑ์ คือ พระมหามงกุฎ ธารพระกร พระแสงขรรค์ชัยศรี พัดวาลวีชนี พระแส้ และฉลองพระบาทเครื่องสูง ภาพเขียนภายในพระอุโบสถลบเลือนมากวิเคราะห์ว่าน่าจะเป็นพุทธประวัติตอนชมพูบดีสูตร คือตอนพระพุทธเจ้าทรมาณพระยามหาชมพูเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างานจิตรกรรมกับพระพุทธรูปที่เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง ซึ่งหมายถึงปางทรมานพญามหาชมพู

บรรณานุกรม

พระอารามหลวงในกรุงเทพมหานคร.  สุริยา รัตนกุล ... [และคนอื่น ๆ] . นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหิดล, 2550.