เอกสารฉบ้บเต็ม

บทความวิชาการ

PDF Full Text
ชื่อบทความ ความก้าวหน้าในการศึกษาประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์สมัยโบราณ
ชื่อวารสาร ศิลปวัฒนธรรม
ชื่อผู้แต่ง สุภัทรดิศ ดิศกุล, ม.จ.
ชื่อผู้แปล
รายละเอียดวารสาร ปีที่ 2 ฉบับที่ 9 (ก.ค. 2524) หน้า 66-79
สาระสังเขป  

                การศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปเอเชียอาคเนย์สมัยโบราณ 3 เรื่อง   1) ปัญหาเกี่ยวกับอาณาจักรฟูนันและอาณาจักรเจนละ โดยทั่วไป ประวัติศาสตร์สมัยโบราณในประเทศกัมพูชาสมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร (pre-Angkorean period) และมีอายุก่อน พ.. 1355 นั้น นิยมใช้ชื่อตามที่ปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุจีน คือ อาณาจักรฟูนัน และอาณาจักรเจนละ ซึ่งนักวิชาการหลายท่านสนใจศึกษาค้นคว้า เช่น ศาสตราจารย์โคลด ชาค (Claude Jacques)  ศาสตราจารย์เปลลิโอต์ (Paul Pelliot)  ศาสตราจารย์ยอร์ช  เซเดส์  ศาสตราจารย์ฟิโนต์  (Louis Finot)  ศาสตราจารย์ดูปองต์ (P. Dupont)   2)  เดิม ศาสตราจารย์เซเดส์ เขียนไว้ในหนังสือว่า พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ของขอมทรงเป็นเชื้อชาติมาลายู และเสด็จขึ้นมาจากเมืองนครศรีธรรมราช   ต่อมาได้เปลี่ยนความเห็นว่าพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ทรงเป็นจ้าชายขอมแต่ดั้งเดิม   3) หลักฐานทางด้านโบราณคดีที่ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี กรมศิลปากรได้ทำการขุดค้นซากโบราณสถานที่เนินทางพระ พบวัตถุสำคัญที่สลักจากศิลาคือ องค์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรยืน  เศียรพระพุทธรูป ประติมากรรมสัมฤทธิ์ เช่น เศียรพระพุทธรูปหรือพระพุทธรูปทรงเครื่องขนาดเล็ก และพระพิมพ์  เครื่องประดับปูนปั้นรูปเทวดา มนุษย์และยักษ์  ประติมากรรมปูนปั้นในศาสนาฮินดู  เศียรเทวดา  ครุฑ  ลวดลายพันธุ์พฤกษา  แผ่นอิฐมีจารึกตัวอักษรขอมว่า และเครื่องมือเหล็กสำหรับสกัดศิลา หลักฐานที่ค้นพบนี้ยืนยันว่า เมืองสุวรรณปุระในศิลาจารึกปราสาทพระขรรค์ในประเทศกัมพูชา คงจะเป็นเมืองสุพรรณบุรีของไทยอย่างแน่นอน.