เอกสารฉบ้บเต็ม

บทความวิชาการ

PDF Full Text
ชื่อบทความ พระธยานิพุทธที่บุโรพุทโธในเกาะชวา
ชื่อวารสาร ศิลปากร
ชื่อผู้แต่ง ฟัน โลฮุยเซน-เดอลิว, เจ.อี. (Van Lohuizen-de Leeuw, J.E.)
ชื่อผู้แปล สุภัทรดิศ ดิศกุล, ม.จ.
รายละเอียดวารสาร ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 (พ.ค.-ก.ค. 2510) หน้า 35-43
สาระสังเขป  

                พุทธสถานบุโรพุทโธในเกาะชวา ลักษณะเป็นฐานสี่เหลียมจตุรัส 4 ชั้นข้างล่าง ฐานวงกลม 3 ชั้นข้างบน และสถูปใหญ่อยู่ตรงกลางบนยอดสุด  ที่ผนังฐานทั้ง 5 ชั้นมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งอยู่ข้างบนทั้งสี่ทิศแสดงปางต่างกันแต่ละทิศ ทิศตะวันออกแสดงปางมารวิชัย คือพระธยานิพุทธอักโษภยะ ทิศใต้ปางประทานพรคือ พระธยานิพุทธรัตนสัมภวะ ทิศตะวันตกปางสมาธิคือพระธยานิพุทธอมิตาภะ ทิศเหนือปางประทานอภัยคือพระธยานิพุทธอโมฆสิทธะ และพระธยานิพุทธองค์ที่ 5 ซึ่งอยู่เหนือฐานชั้นที่ 5 หรือผนังด้านในของระเบียงชั้นที่ 4 ในความเห็นของศาสตราจารย์ฟัน โลฮุยเซน เห็นว่า หมายถึงพระสมันตภัทร ซึ่งแสดงปางวิตรรกะหรือทรงสั่งสอน ถัดขึ้นไปมีพระธยานิพุทธองค์ที่ 6 ประทับอยู่ในสถูปที่เจาะเป็นรู บนลานวงกลมชั้นบน 3 ชั้น ทรงแสดงปางปฐมเทศนาคือพระไวโรจนะ ซึ่งเป็นพระธยานิพุทธองค์ที่สำคัญที่สุด เมื่อการนับถือพระธยานิพุทธ 5 พระองค์ ได้เปลี่ยนไปเป็น 6 พระองค์ พระไวโรจนะหรือพระสมันตภัทรก็มีความสำคัญยิ่งขึ้น ต่อมามักเรียกพระธยานิพุทธองค์ที่ 6 ว่า พระวัชรสัตว์ และในกรณีที่มีการเคารพนับถือ 7 ชั้น ก็มักเรียกพระอาทิพุทธว่าพระวัชรธร  พุทธศาสนาที่บุโรพุทโธอาจเป็นขั้นต้นแห่งการเจริญขึ้นของนิกายวัชรธร วัชราจารย์ หรือโยคาจารย์แห่งพุทธศาสนาลัทธิมหายาน.