บทความวิชาการ
![]() |
|
ชื่อบทความ | ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 14] |
---|---|
ชื่อวารสาร | ศิลปากร |
ชื่อผู้แต่ง | บวสเซอลีเย่, ฌอง (Boisselier, Jean) |
ชื่อผู้แปล | สุภัทรดิศ ดิศกุล, ม.จ. |
รายละเอียดวารสาร | ปีที่ 13 ฉบับที่ 3 (ก.ย. 2512) หน้า 101-113 |
สาระสังเขป | |
ประติมากรรมในศาสนาพราหมณ์ตลอดจนในพุทธศาสนาลัทธิมหายานของขอมนั้น สร้างขึ้นตามกฏเกณฑ์อันเดียวกัน
แต่พระพุทธรูปมักประดิษฐ์ขึ้นตามประเพณีที่แปลกออกไปทั้งเครื่องทรง วิธีการสลัก ตลอดจนวัตถุที่ใช้
ประติมากรรมขอมใช้วิธีสลักอย่างตรงไปตรงมา
วัตถุที่ใช้คือ โลหะ ได้แก่ ทอง เงิน สัมฤทธิ์ และ ศิลา ปูนปั้น อิฐ ไม้ สำหรับรูปร่างและท่าทางของประติมากรรมขอมเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย
แต่เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย
จนอาจทำให้แบ่งประติมากรรมขอมออกได้เป็นหลายแบบต่อเนื่องกันไป ศิลปขอมแบบต่างๆ
นิยมใช้ ภาพสลักเล่าเรื่อง เช่น บนหน้าบัน ทับหลัง เสาติดกับผนัง ฯลฯ
ย่อมใช้อธิบายถึงลักษณะรูปภาพได้ดีอย่างยิ่ง ลักษณะรูปภาพ (iconography) ทางศาสนาพราหมณ์ได้แก่ พระพรหม พระนารายณ์ พระกฤษณะ
พระอิศวร ศิวลึงค์ พระหริหระ พระอรรธนารีศวร พระตริมูรติ พระคเณศ พระขันธกุมาร
พระอาทิตย์ พระอินทร์ เทพ 9 องค์ เทพผู้รักษาทิศ พระอุมา
พระศรีหรือพระลักษมี ทวารบาล นางอัปสร ฯลฯ
ส่วนพระพุทธรูปของขอมส่วนใหญ่สลักจากศิลาทราย นอกไปจากอิริยาบถและปางแล้ว ยังมีพระเกศาที่แตกต่างไปจากประติมากรรมในศาสนาพราหมณ์
เครื่องทรงของพระพุทธรูปมีแต่เพียง อันตรวาสกหรือสบง และอุตตราสงฆ์หรือจีวร ลักษณะรูปภาพทางพุทธศาสนา ได้แก่ พระศรีศากยมุนี พระโพธิสัตว์ต่างๆ นางปรัชญาหรือศักติ นอกจากนั้นยังมีรูปสัตว์
ได้แก่ โคนนทิ ช้าง สิงห์ นาค ครุฑ หงส์ ม้า ลิง เต่า มกร กาล คชสิงห์
และลายพันธุ์พฤกษา ได้แก่ บัวชมพู
และบัวขาบ. |