เอกสารฉบ้บเต็ม

บทความวิชาการ

PDF Full Text
ชื่อบทความ ศิลปะทวาราวดี
ชื่อวารสาร ศิลปากร
ชื่อผู้แต่ง บวสเซอลีเย่, ฌอง (Boisselier, Jean)
ชื่อผู้แปล สุภัทรดิศ ดิศกุล, ม.จ.
รายละเอียดวารสาร ปีที่ 11 ฉบับที่ 5 (ม.ค. 2511) หน้า 35-64
สาระสังเขป  

                ศิลปทวารวดีแบ่งเป็น 2 สมัยใหญ่ๆ คือ   1) สมัยก่อนทวาราวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 8-11 ปรากฏมีการวางรากฐานแห่งอารยธรรมอินเดียโดยเฉพาะทางพุทธศาสนาลงในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมด้วยการปรากฏมีศิลปวัตถุพื้นเมืองรุ่นแรกที่เลียนแบบหรือได้รับแรงบันดาลใจมาจากศิลปวัตถุอินเดีย  
2) สมัยทวาราวดีอย่างแท้จริง ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 12-17 ซึ่งแบ่งเป็น 4 สมัยย่อย คือ สมัยเริ่มก่อตั้งศิลป  ราวพุทธศตวรรษที่ 12 เป็นสมัยที่ยอมรับเอาประเพณีในศิลปอินเดียแบบหลังคุปตะมาเป็นของตน สมัยก่อตั้งศิลป ราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 อิทธิพลของศิลปแบบหลังคุปตะถูกผสมกลมกลืนเข้าไปเป็นอย่างดี ลักษณะสำคัญของศิลปทวาราวดีเริ่มปรากฏขึ้นพร้อมกับลักษณะรูปภาพ (iconography) และเทคนิคที่ใช้สมัยฟื้นฟูใหม่ ราวพุทธศตวรรษที่ 14-15 อิทธิพลของศิลปจากภายนอกโดยเฉพาะศิลปศรีวิชัย ได้เข้ามาอยู่เหนือประเพณีใหม่ๆ โดยเข้าปะปนกับลักษณะดั้งเดิมของศิลปทวาราวดี  สมัยเสื่อม ราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 เริ่มมีอิทธิพลของศิลปขอม เนื่องมาจากการที่ชนชาติขอมได้แผ่ขยายตัวเข้ามาในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา  สำหรับศิลป ณ เมืองลำพูน และศิลปอู่ทองรุ่นที่ 1 ในพุทธศตวรรษที่ 18 และ 19 แสดงให้เห็นถึงการสืบเนื่องต่อลงมาของศิลปทวาราวดีในดินแดนภายนอก  และศิลปทวาราวดีได้คงอยู่สืบต่อลงมาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะด้านประติมากรรมบนดินแดนที่เป็นถิ่นกำเนิดของตน.