วิทยานิพนธ์เรื่อง "เงื่อนไขทางวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับสิ่งใหม่ของชาวเขา เผ่าอีก้อ บ้านแสนเจริญใหม่ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย" นี้ เป็นการศึกษาวัฒนธรรมของ ชุมชนแบบครอบคลุมในทุก ๆ ด้าน ตามแนวคิดของกลุ่มนักทฤษฎีเกี่ยวกับโครงสร้างและหน้าที่ ที่เห็นว่าโครงสร้างต่าง ๆของสังคมทั้งหมด มีความผูกพันกันในทางการหน้าที่อย่างสอดคล้องต่อ กัน ถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลง ในส่วนใดก็ตามย่อมจะส่งผลกระทบต่อส่วนอื่น ๆ ด้วย โดยมีจุด ประสงค์ของการวิจัยที่สำคัญคือ ต้องการทราบเงื่อนไขทางวัฒนธรรมในทุก ๆ ด้านที่มีอิทธิพล ต่อการยอมรับสิ่งใหม่ทางการเกษตรของชาวอีก้อ ผลของการศึกษาพบว่า ทุกเงื่อนไขมีความสัมพันธ์สอดคล้องต่อกันและมีอิทธิพลต่อการ ยอมรับสิ่งใหม่ทางการเกษตรทุกเงื่อนไข อาทิเช่น ราคาของผลผลิต ระยะเวลาของการผลิต ความเคยชินในวิถีการผลิต ข้อจำกัดของแรงงานภายในครัวเรือนและครอบครัว ความร่วมมือ กันระหว่างเครือญาติ บทบาทของผู้นำชุมชนที่เป็นทางการ บทบาทของคณะกรรมการผู้เฒ่าผู้แก่ ความเคยชินในการอุปโภคและบริโภค ความสามารถในการเข้าใจภาษาไทย โอกาสในการติด ต่อกับเจ้าหน้าที่หรือผู้นำการเปลี่ยนแปลง สถานภาพทางสังคมของบุคคล ความเชื่อในเรื่องโชค ลาง ข้อห้ามข้อนิยมต่าง ๆ พฤติกรรมตามประเพณีต่าง ๆ ตลอดจนในเรื่องของชนิดของพืช ปุ๋ย และเทคนิคต่าง ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์กับเงื่อนไขอื่น ๆ อีกอาทิเช่น บทบาทของผู้นำการเปลี่ยนแปลง การ เลียนแบบ และการทดลองปฏิบัติ เหล่านี้เป็นต้น อย่างไรก็ดี ในกรณีที่เป็นการจำยอมหรือบังคับ เปลี่ยนพบว่า อีก้อมีการปรับตัวและเลือกรับเฉพาะ ในสิ่งที่พวกเขาเห็นว่าเหมาะสมและไม่ก่อให้ เกิดปัญหาต่อวัฒนธรรมเดิมของตน อาทิ การทดลองปลูกและใช้จำนวนน้อย ๆ ก่อน เป็นต้น สรุปแล้วการที่จะให้อีก้อยอมรับสิ่งใหม่ใด ๆ ก็แล้วแต่ ควรคำนึงถึงวัฒนธรรมด้านต่าง ๆ ทุก ด้านและควรจะสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง.