การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการออกแบบหนังสือนิทานเพื่อส่งเสริมจินตภาพ สำหรับเด็กพิการทางสายตา ประชากรกลุ่มเป้าหมาย คือเด็กพิการทางสายตา ประเภทตาบอดสนิท สามารถอ่านอักษรเบรลล์ได้ ศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1-6 โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ ดำเนินการวิจัยโดยการรวบรวมข้อมูล ภาคเอกสารและข้อมูลภาคสนามที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลทั้งก่อนการออกแบบ และหลังการออกแบบ โดยการวิเคราะห์เชิงปริมาณ และการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ สุดท้ายนำเสนองานออกแบบต่อผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประเมินผลงานออกแบบ ผลการวิจัยสามารถสรุปออกเป็นผลงานออกแบบได้ดังนี้ 1. ขนาดของเล่มหนังสือ คือขนาด 8.5 X 11 นิ้ว 2. ตัวอักษร ที่ใช้คืออักษรเบรลล์ ในขนาดมาตราฐาน ซึ่งเป็นอักษรเฉพาะของคนตาบอด 3. ภาพประกอบที่มีลักษณะนูนเหมาะสมกับการสัมผัสเพื่อให้เกิดจินตภาพมากที่สุด 4. ตำแหน่งเนื้อเรื่องนิทานควรอยู่ด้านซ้ายและภาพประกอบนูนควรอยู่ด้านขวา อักษร เบรลล์อธิบายภาพประกอบนูนควรอยู่ด้านซ้ายของภาพ แต่ถ้าเป็นการอธิบายภาพประกอบ นูนที่ต่อเนื่องจากเนื้อเรื่องควรวางไว้ด้านขวาของภาพ 5.เนื้อเรื่องสำหรับเด็กพิการทางสายตาไม่มีความแตกต่างจากการเลือกหนังสือที่เหมาะสม กับเด็กสายตาปกติ แต่ต้องมีการเพิ่มเติมในการอธิบายเนื้อหาให้เด็กพิการทางสายตาเข้าใจ ความหมายของคำให้มากขึ้น 6. กรรมวิธีการผลิตนั้นเริ่มจาก พิมพ์เนื้อเรื่องอักษรเบรลล์และออกแบบภาพนูน จัดวางตาม ผลวิเคราะห์ตำแหน่งที่เหมาะสมลงแผ่นมาสเตอร์ แล้วนำไปอัดด้วยเครื่องเทอร์โมฟอร์ม การทดสอบหลังการออกแบบพบว่าผลงานออกแบบเป็นที่พึงพอใจสำหรับเด็กพิการทาง สายตาและให้ประสิทธิผลตรงตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ คือการออกแบบหนังสือนิทานให้กับ เด็กพิการทางสายตาโดยเฉพาะจะช่วยส่งเสริมทางด้านจินตภาพ และทำให้เด็กพิการทาง สายตาเข้าใจในตัวละคร รวมทั้งเนื้อหาในนิทานได้ชัดเจนขึ้นกว่าหนังสือนิทานที่เป็น อักษรเบรลล์เพียงอย่างเดียว