การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้, การปฏิบัติ, ทัศนคติ และค่านิยม ของผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดที่มีต่อการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประ เภทลดไขมัน โดยจำแนกเป็น ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม ทำการศึกษา จากผู้ป่วยที่เคยใช้และใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทลดไขมันอย่างน้อย 1 เดือน ที่มารับบริการที่คลินิกโรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลนครปฐม โดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 385 ราย ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2544 - เมษายน 2545 ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ด้วยสูตรไคสแควร์และ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยนำที่มีความสัมพันธ์กับการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทน้ำมัน ปลากับประเภทอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ปัจจัยด้านประชากร ได้แก่ ระดับการศึกษาและความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทลดไขมัน (p = 0.032, p = 0.005 ตามลำดับ) และปัจจัยที่เกี่ยวกับความเจ็บป่วย ได้แก่ วัตถุประสงค์ของการใช้ (p = 0.000) 2. ปัจจัยเอื้อที่มีความสัมพันธ์กับการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทน้ำมัน ปลากับประเภทอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ แหล่งผลิตและจำหน่ายของ ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ห้างสรรพสินค้าและร้านขายยา (p = 0.000, p = 0.000 ตามลำดับ) และผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศ และ จากต่างประเทศ (p = 0.000, p = 0.000 ตามลำดับ) 3. ปัจจัยเสริมที่มีความสัมพันธ์กับการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทน้ำมัน ปลากับประเภทอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ สื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ และทางหนังสือพิมพ์ (p = 0.020, p = 0.005 ตามลำดับ) จากผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบ การคุ้มครองผู้บริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทลด ไขมันและอื่นๆ ต่อไป