ได้ทำการศึกษาพฤติกรรมการดูดซับของแบเรียมและเรเดียมบนพื้นผิวของแมงกานีส ไดออกไซด์ที่เคลือบบนวัสดุ polyamide โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเทคนิคใน การทำให้สารละลายที่จะทำการวิเคราะห์มีความเข้มข้นของแบเรียมและเรเดียมสูงขึ้น เทคนิคที่ใช้ในการศึกษาหาปริมาณแบเรียมคือเทคนิค Inductively Coupled Plasma – Atomic Emission Spectrophotometer (ICP – AES) ส่วนการตรวจหาปริมาณเรเดียมใช้เทคนิค Liquid Scintillation Counter (LSC) ในการศึกษาพฤติกรรมการดูดซับในเบื้องต้นศึกษาโดยดูพฤติกรรมการดูดซับของแบเรียม บนพื้นผิวของแมงกานีสไดออกไซด์เป็นลำดับแรก เมื่อได้สภาวะที่เหมาะสมแล้วจึงได้ใช้ สภาวะดังกล่าวเพื่อทำการทดลองศึกษาพฤติกรรมการดูดซับของเรเดียมต่อไป โดยพบว่า วัสดุ polyamide ที่มีลักษณะเป็นเม็ดจะดูดซับปริมาณแบเรียมได้ดีกว่าวัสดุ polyamide รูปแบบอื่น ๆ โดยมีปริมาณการดูดซับของแบเรียมอยู่ในช่วงร้อยละ 80 – 90 ค่า pH ที่ เหมาะสมสำหรับการดูดซับเป็นได้ตั้งแต่ 3 – 13 โดยช่วงระหว่าง pH 5 – 7 จะมีค่าร้อยละ ของการดูดซับมากที่สุดที่ร้อยละ 89 สำหรับระยะเวลาที่ใช้ในการดูดซับพบว่าหลังเวลา 60 นาที การดูดซับไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงสูงกว่าเดิมมากนัก ส่วนปริมาณสารดูดซับที่ใช้ ในการดูดซับแบเรียม จะคิดจากค่าพื้นผิวของแมงกานีสไดออกไซด์ ซึ่งขึ้นกับรูปแบบของ วัสดุ polyamide โดยพบว่าพื้นที่ผิว 1 cm2จะสามารถดูดซับปริมาณแบเรียมได้ 0.45x10-6 mol/cm2 ส่วนการศึกษาโลหะอื่น ๆ ที่อาจรบกวนการดูดซับของแบเรียม บนพื้นผิวของแมงกานีสไดออกไซด์ได้พบว่าแคลเซียมมีผลมากทำให้การดูดซับของแบเรียม บนพื้นผิวของแมงกานีสไดออกไซด์มีค่าลดลง ส่วนแมกนีเซียมและโพแทสเซียมมีผลเล็กน้อย ในขณะที่ผลเนื่องจากโซเดียมมีน้อยมากต่อการดูดซับของแบเรียมบนพื้นผิวของแมงกานีส ไดออกไซด์ ได้ทำการทดลองใช้สภาวะเหมาะสมในการดูดซับของแบเรียมบนพื้นผิวของแมงกานีส ไดออกไซด์เพื่อใช้ทดลองหาปริมาณเรเดียมโดยวิธีการในลักษณะเดียวกัน พบว่าให้ผลเป็นที่ น่าพอใจโดยมีค่า % recovery มากกว่า 80 % อย่างไรก็ตามในการนำวิธีการนี้ไปใช้งาน เพื่อใช้ในการวิเคราะห์หาปริมาณเรเดียมในน้ำตัวอย่างจริงจะต้องมีวิธีการขจัดปัญหาการ รบกวนอันเนื่องจากสารรบกวนอื่นที่อาจมีอยู่ในน้ำตัวอย่างและทำให้ผลการทดลองผิดพลาดไป