การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) สภาพความพร้อมในการบริหารการศึกษาขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น 2) ความแตกต่างของความพร้อมในการบริหารการศึกษาขององค์การบริหาร ส่วนตำบล (อบต.) และ เทศบาล และ 3) แนวทางการเตรียมความพร้อมใน การบริหารการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยใช้แนวคิดความพร้อมของ เฮอร์เซย์และบลันชาร์ด (Hersey and Blanchard) และกรอบงานการบริหาร การศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 39 มาประยุกต์เป็นกรอบทฤษฎีการวิจัย ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือเทศบาลที่ชนะ เลิศการประกวดโรงเรียนในสังกัดดีเด่น ทั่วประเทศประจำปี 2541-2543 จำนวน 20 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ชั้น 1 และชั้น 2 ทั่วประเทศจำนวน 20 แห่ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ (%) ค่ามัชฌิมเลขคณิต ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความพร้อมในการบริหารการศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) โดยภาพรวมมีความพร้อมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในรายด้าน พบว่า ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านบริหารงานบุคคล และด้านบริหารงานทั่วไป มีความพร้อมในระดับมาก มีเพียงด้านบริหารงานวิชาการที่มีความพร้อม ระดับปานกลาง สำหรับความพร้อมของ เทศบาลในการบริหารการศึกษา โดยภาพรวมและทุกรายด้าน พบว่า มีความพร้อมอยู่ในระดับมาก 2) ความพร้อมในการบริหารการศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) กับเทศบาลมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3) แนวทางในการเตรียมความพร้อมในการบริหารการศึกษาขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ในด้านวิชาการ ควรมีการเตรียมความพร้อมด้วยการ จัดการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและครู โดยเชิญวิทยากรที่มีความรู้ มีประสบการณ์มาเป็นผู้ให้ความรู้ ด้านงบประมาณควรเตรียมความพร้อมด้วย การจัดประชุมชี้แจงแก่คณะผู้บริหารและชุมชน ด้านการบริหารงานบุคคล ควรเตรียมความพร้อมด้วยการประชุมชี้แจงแก่คณะผู้บริหารและโรงเรียน ในสังกัด ด้วยความโปร่งใส ความเสมอภาคและความยุติธรรม ด้านการ บริหารงานทั่วไป ควรเตรียมความพร้อมด้วยการจัดการ ฝึกอบรมให้แก่คณะผู้บริหาร